ผมขอเล่าแบบคร่าวๆ และใช้คำศัพท์แบบบ้านๆ เพื่อให้คุณผู้อ่านเข้าใจง่ายๆ ละกัน ในรัชกาลที่ 5 พระองค์ได้โปรดเกล้าให้นายช่างฝรั่งท่านหนึ่งก่อสร้างพระตำหนักขึ้นสองหลัง เพื่อเตรียมไว้ให้ลูกชายทั้งสองพระองค์ที่ไปเรียนต่่างประเทศและกำลังจะกลับบ้าน ลูกชายทั้งสองพระองค์ คือ รัชกาลที่ 6 (ในเวลาต่อมา) ซึ่งขณะนั้นเป็นองค์รัชทายาท และอีกพระองค์หนึ่งคือ จอมพลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถฯ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ (พระอนุชา หรือน้องของรัชกาลที่ 6) ซึ่งได้ไปศึกษาที่ประเทศรัสเซีย
พระตำหนักที่ทรงสร้างขึ้นได้แก่ พระตำหนักจิตรลดา ตั้งอยู่เยื้องๆ กับพระบรมรูปทรงม้า ตรงแยกพอดีเป๊ะ อยู่ทางด้านทิศเหนือ ตำหนักนี้สร้างให้องค์รัชทายาท สำหรับพระตำหนักที่สอง อยู่ไม่ไกลกัน คือพระตำหนักสวนปารุสวัน อยู่ทางด้านทิศใต้ หลังนี้สร้างให้เจ้าฟ้าจักรพงษ์ฯ
และเมื่อองค์รัชทายาทขึ้นครองราชสมบัติ ได้ย้ายไปประทับที่พระบรมมหาราชวัง จึงพระราชทานพระตำหนักจิตรลดาให้กับน้องชาย เพื่อเป็นที่ประทับ และได้รื้อกำแพงที่กั้นแบ่งพื้นที่พระตำหนักออกรวมเป็นวังเดียวกันเรียกว่า วังปารุสกวันนั่นเอง และเจ้าฟ้าจักรพงษ์ฯ ก็ประทับที่วังนี้ตลอดพระชนมายุ
คุณฮิวโก้ จุลจักร จักรพงษ์ (นักแสดงและนักร้อง) มีศักดิ์เป็นหลานตาของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระโอรสใน เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถฯ ว่ากันง่ายๆคือ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถฯ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ มีศักดิ์เป็นคุณตาทวดนั่นเอง ไม่งงกันใช่มั๊ย
กลับมาที่เจ้าฟ้าจักรพงษ์ฯ พระอนุชาในรัชกาลที่ 6 ต่อครับ เมื่อพระองค์ทิวงคต (ตาย) ด้วยพระชนมายุเพียง 37 พรรษา รัชกาลที่ 6 พระราชทานโกศทองน้อยเชิญพระศพมาประดิษฐานเพื่อบำเพ็ญพระราชกุศล ณ พระตำหนักจิตรลดา ต่อมาพระตำหนักแห่งนี้ได้ถูกใช้เป็นอาคารรับรองพระราชอาคันตุกะและจัดพระราชพิธีสำคัญๆ สืบต่อมาจนถึงในรัชกาลที่ 7
หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ทางคณะราษฎร์ได้ขอพระราชานุญาตใช้วังปารุสกวันเป็นสถานที่ทำการและที่พัก โดยพระตำหนักจิตรลดาใช้เป็นที่อยู่ของคณะราษฎร์ ส่วนพระตำหนักปารุสกวันเป็นทำเนียบที่พักของพระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ประธานคณะราษฎร) นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (หัวหน้าคณะราษฎร)
ต่อมาวังแห่งนี้ถูกใช้เป็นสถานที่ทำงานของกรมต่างๆอีกมากมาย จนปัจจุบันด้านทิศเหนือคือพระตำหนักจิตรลดาอยู่ในความดูแลของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และด้านทิศใต้อยู่ในความดูแลของสำนักข่าวกรองแห่งชาติครับ
สำหรับส่วนที่นักท่องเที่ยวสามารถเข้าเยี่ยมชมได้คือ ด้านทิศเหนือพระตำหนักจิตรลดา และพิพิธภัณฑ์ตำรวจแห่งชาติ ขณะที่ตำหนักปารุสกวัน ไม่เปิดให้เข้าเยี่ยมชม คือตรงนั้นเป็นที่ตั้งของสำนักข่าวกรองแห่งชาติอ่ะครับ
แล้วพิพิธภัณฑ์ตำรวจเกี่ยวอะไรด้วยล่ะ อืม... จริงๆ ในสมัย 2473 ทางกระทรวงมหาดไทยได้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ตำรวจขึ้นเป็นครั้งแรก แต่ไม่ได้จัดแสดงที่นี่ครับ วัตถุประสงค์หลักในการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ตำรวจขณะนั้นเพื่อเก็บรวบรวมวัตถุของกลางที่คนร้ายใช้ในการกระทำความผิดทุกชนิด เพื่อให้ทั้งข้าราชการและบุคคลทั่วไปมาค้นคว้าหาความรู้ ต่อมามีการแบ่งแผนกงานรับผิดชอบภายในของกรมตำรวจ ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติมีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบงานด้านพิพิธภัณฑ์และได้จัดแบ่งหมวดหมู่ของที่จะใช้จัดแสดงออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
พิพิธภัณฑ์ตำรวจที่เกี่ยวกับคดีอาญา จัดแสดงวัตถุที่เกี่ยวข้องกับคดีอาญาทุกชนิด อยู่ที่ปทุมวัน และไม่เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมครับ และดูอันตรายและอาจนำไปก่ออาชญกรรมได้
พิพิธภัณฑ์ที่ไม่เกี่ยวกับคดี จัดแสดงเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของการก่อตั้งกรมตำรวจตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เครื่องแต่งกายตำรวจ ยศ และอุปกรณ์ต่างๆ จัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ตำรวจวังปารุสกวันแห่งนี้ครับ
จากคำบอกเล่าของเจ้าหน้าที่ แม้ว่าพี่ชายคือ รัชกาลที่ 6 ได้ยกให้กับน้องชายไปแล้ว เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถฯ ไม่ได้ประทับที่พระตำหนักจิตรลดาหลังนี้ ทรงประทับที่ตำหนักปารุสกวันเสียมากกว่า
มาว่าต่อถึงรูปแบบสถาปัตยกรรมของพระตำหนักจิตรลดาหลังนี้กันครับ นายช่างออกแบบอาคารหลังนี้ตามแบบ Stile Liberty หรือ อาร์ต นูโวแบบอิตาเลียน แล้วมันเป็นยังไงอ่ะ
งานอาร์ต นูโว เป็นภาษาฝรั่งเศส หมายถึง ศิลปะแนวใหม่ เป็นแบบอย่างของศิลปะสากล ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการตกแต่งภายใน และสถาปัตยกรรม เจ้าศิลปะแนวนี้เกิดจากรูปแบบที่มีความโค้ง สัมพันธ์กับธรรมชาติ หรือกึ่งธรรมชาติ จะสังเกตได้จากประตูประดับซุ้ม การดัดหวายให้เป็นรูปหัวใจ หรือเป็นลายดอกไม่้เถาวัลย์ ประมาณนี้ครับ สวยงามอ่อนช้อยมากครับ
เดินต่อกันอีกนิดด้านหลังของพระตำหนักจิตรลดา จะเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ตำรวจครับตามมาดูกัน ภายในแอร์เย็นเฉียบดีครับ
คุณผู้อ่านที่สนใจมาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ตำรวจ วังปารุสกวัน โปรดแต่งกายให้สุภาพด้วยนะครับ เปิดให้เข้าชมตั้งแต่วันพุธ-วันอาทิตย์ เวลา 10.00 - 16.00 น. หยุดวันจันทร์ อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์ไม่เสียค่าเข้าชมครับ สถานที่ตั้งคืออยู่ตรงมุมลานพระบรมรูปทรงม้า หันหน้าเข้าลานพระบรมรูปจะอยู่มุมซ้ายมือของถนนครับ
หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ทางคณะราษฎร์ได้ขอพระราชานุญาตใช้วังปารุสกวันเป็นสถานที่ทำการและที่พัก โดยพระตำหนักจิตรลดาใช้เป็นที่อยู่ของคณะราษฎร์ ส่วนพระตำหนักปารุสกวันเป็นทำเนียบที่พักของพระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ประธานคณะราษฎร) นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (หัวหน้าคณะราษฎร)
ต่อมาวังแห่งนี้ถูกใช้เป็นสถานที่ทำงานของกรมต่างๆอีกมากมาย จนปัจจุบันด้านทิศเหนือคือพระตำหนักจิตรลดาอยู่ในความดูแลของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และด้านทิศใต้อยู่ในความดูแลของสำนักข่าวกรองแห่งชาติครับ
สำหรับส่วนที่นักท่องเที่ยวสามารถเข้าเยี่ยมชมได้คือ ด้านทิศเหนือพระตำหนักจิตรลดา และพิพิธภัณฑ์ตำรวจแห่งชาติ ขณะที่ตำหนักปารุสกวัน ไม่เปิดให้เข้าเยี่ยมชม คือตรงนั้นเป็นที่ตั้งของสำนักข่าวกรองแห่งชาติอ่ะครับ
แล้วพิพิธภัณฑ์ตำรวจเกี่ยวอะไรด้วยล่ะ อืม... จริงๆ ในสมัย 2473 ทางกระทรวงมหาดไทยได้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ตำรวจขึ้นเป็นครั้งแรก แต่ไม่ได้จัดแสดงที่นี่ครับ วัตถุประสงค์หลักในการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ตำรวจขณะนั้นเพื่อเก็บรวบรวมวัตถุของกลางที่คนร้ายใช้ในการกระทำความผิดทุกชนิด เพื่อให้ทั้งข้าราชการและบุคคลทั่วไปมาค้นคว้าหาความรู้ ต่อมามีการแบ่งแผนกงานรับผิดชอบภายในของกรมตำรวจ ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติมีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบงานด้านพิพิธภัณฑ์และได้จัดแบ่งหมวดหมู่ของที่จะใช้จัดแสดงออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
พิพิธภัณฑ์ตำรวจที่เกี่ยวกับคดีอาญา จัดแสดงวัตถุที่เกี่ยวข้องกับคดีอาญาทุกชนิด อยู่ที่ปทุมวัน และไม่เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมครับ และดูอันตรายและอาจนำไปก่ออาชญกรรมได้
พิพิธภัณฑ์ที่ไม่เกี่ยวกับคดี จัดแสดงเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของการก่อตั้งกรมตำรวจตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เครื่องแต่งกายตำรวจ ยศ และอุปกรณ์ต่างๆ จัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ตำรวจวังปารุสกวันแห่งนี้ครับ
จากคำบอกเล่าของเจ้าหน้าที่ แม้ว่าพี่ชายคือ รัชกาลที่ 6 ได้ยกให้กับน้องชายไปแล้ว เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถฯ ไม่ได้ประทับที่พระตำหนักจิตรลดาหลังนี้ ทรงประทับที่ตำหนักปารุสกวันเสียมากกว่า
มาว่าต่อถึงรูปแบบสถาปัตยกรรมของพระตำหนักจิตรลดาหลังนี้กันครับ นายช่างออกแบบอาคารหลังนี้ตามแบบ Stile Liberty หรือ อาร์ต นูโวแบบอิตาเลียน แล้วมันเป็นยังไงอ่ะ
งานอาร์ต นูโว เป็นภาษาฝรั่งเศส หมายถึง ศิลปะแนวใหม่ เป็นแบบอย่างของศิลปะสากล ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการตกแต่งภายใน และสถาปัตยกรรม เจ้าศิลปะแนวนี้เกิดจากรูปแบบที่มีความโค้ง สัมพันธ์กับธรรมชาติ หรือกึ่งธรรมชาติ จะสังเกตได้จากประตูประดับซุ้ม การดัดหวายให้เป็นรูปหัวใจ หรือเป็นลายดอกไม่้เถาวัลย์ ประมาณนี้ครับ สวยงามอ่อนช้อยมากครับ
บริเวณรอบๆพระตำหนัก ร่วมรื่นน่าอยู่มาก |
ห้องประชุม |
คุณตาของคุณฮิวโก้ (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์) นี่หล่อจริงๆ |
รูปนายช่างมาริโอ้ |
เดินต่อกันอีกนิดด้านหลังของพระตำหนักจิตรลดา จะเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ตำรวจครับตามมาดูกัน ภายในแอร์เย็นเฉียบดีครับ