การเดินทางทริปนี้ผมได้ปักหมุดไว้ที่ อ.แม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ถ้าถามว่าทำถึงเลือกที่นี่ คำตอบก็คือ ผมหลงใหลผ้าซิ่นตีนจก ซึ่งเป็นผ้าซิ่นที่ขึ้นชื่อในด้านกรรมวิธีการ "จก" (ล้วง ถัก ขิด) แล้วแต่ละท้องถิ่นจะเรียก ซึ่งที่แม่แจ่มนี้จะจกด้วยมือเป็นงาน Hand made และลวดลายที่จกนั้นงดงามที่สุดแล้วครับ
การเดินทางไปอำเภอแม่แจ่มนี่ไม่ยากครับ ถ้าคุณไม่มีรถยนต์ส่วนตัวคุณสามารถเดินทางด้วยรถ
1. เครื่องบิน 2. รถทัวร์หรือรถไฟก็แล้วแต่ สำหรับผู้ที่จะเดินทางมาด้วยรถทัวร์ เท่าที่ผมหาข้อมูลจะมีรถทัวร์กรุงเทพ-จอมทองนะครับลองศึกษาดู สำหรับตัวผมนั้น ผมเลือกเดินทางด้วยเครื่องบินเพื่อประหยัดเวลาครับ เมื่อถึงสนามบินเชียงใหม่ก็โบกรถแดง รถสี่ล้อรับจ้างไปส่งที่ประตูเชียงใหม่เพื่อต่อรถไปยังอำเภอจอมทอง ทั้งนี้คิวรถเชียงใหม่-จอมทองมีอยู่หลายจุดนะครับ เห็นคนขับรถแดงบอกว่ามีที่ประตูช้างเผือกและกาดหลวงด้วยครับ ค่ารถเชียงใหม่ไปลงอำเภอจอมทอง 32 บาท รถไปส่งที่คิวรถแม่แจ่ม-จอมทอง ระยะเวลาเดินทางจากตัวเมืองเชียงใหม่ไปจอมทองชั่วโมงเศษ คิวรถจอมทองจะอยู่ข้างๆวัดพระธาตุจอมทองครับ สำหรับรถแม่แจ่ม-จอมทองนี่จะออกเป็นเวลาครับ ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมงเศษ ค่ารถคนละ 70 บาทครับ
สำหรับการเดินทางจากจอมทองไปยังแม่แจ่ม ถ้าคุณมีประสบการณ์การเดินทางไปปาย หรือขึ้น
เขาคิชกูฎมาก่อนสบายมากครับ เพราะเมืองแม่แจ่มนี่ยังอยู่ในหุบเขา ดังนั้นมันต้องขึ้นเขาก่อนแล้วค่อยไต่ลงเขาโค้งหักศอกไปเรื่อยๆ เดี่ยวนี้ถนนหนทางไม่ได้ยากลำบากเหมือนเมื่อก่อนแล้วครับ ระหว่างทางเผอิญผมขอนั่งหน้ารถแค็บหลังคนขับจึงบรรเทาอาการไม่ให้เมารถไปได้บ้าง เพราะมองเห็นถนนหนทางตลอดสองฟากฝั่ง และโชคดีที่เจอเพื่อนรวมเดินทางซึ่งเป็นชาวแม่แจ่ม พูดคุยมาตลอดทาง เธอคนนี้น่ารักมาก และได้ชวนผมลงรถที่บ้านของเธอ แล้วเธอจะขี่มอเตอร์ไซด์ไปส่งผมที่รีสอร์ท
พี่สาวคนนี้อายุสี่สิบกว่าๆแล้วครับ ที่บ้านของเธอมีแม่อยู่กับน้องสาว ส่วนตัวพี่สาวคนนี้ทำงานในตัวเมืองเชียงใหม่เปิดร้านนวดแผนไทย เธอบอกว่าพยายามจะกลับมาบ้านเดือนละหลายๆครั้งเพื่อเยี่ยมแม่ คุณแม่ของเธออายุ 70 กว่าๆ แล้ว คนทางเหนือจะเรียกคุณยายว่า "แม่อุ้ย" เมื่อไปถึงแม่อุ้ยกำลังนั่งห่อขนมเทียน ทางเหนือจากเรียก "ขนมจ๊อก" เพื่อเตรียมไปวัดเนื่องจากพรุ่งนี้จะเป็นวันเข้าพรรษา และได้สั่งให้ลูกสาวไปเก็บข้าวโพดสาลีมาทั้งแปลง ส่วนหนึ่งจะนำไปวัด ส่วนหนึ่งแจกจ่าย ผมก็ได้ไปช่วยเค้าแกะฝักข้าวโพด เป็นประสบการณ์ที่น่าจดจำครับ เมื่อเสร็จกิจ พี่สาวคนนี้ก็พาผมไปไปส่งที่รีสอร์ท แวะข้างทางถ่ายรูปเพราะวิวสวยเหลือเกิน เป็นทุ่งข้าวโพดครับ ดูแล้วสดชื่นจริงๆ
สำหรับรีสอร์ทที่ผมเลือกพัก ผมหาข้อมูลอยู่นานครับว่าจะเลือกแพมวิว ม่อนไม้งาม หรือรีสอร์ทไหนดี สุดท้ายลงเอยด้วย "บ้านวิวงาม" และก็ไม่ผิดหวังครับ เพราะเจ้าของรีสอร์ทเธอดูแลแขกที่เข้าพักดีมาก
บ้านวิวงาม เป็นที่พักแบบวิลล่า มีอยู่ไม่กี่หลังเล็กๆน่ารัก อบอุ่น แต่ละหลังก็จะเป็นแบบส่วนตัว ค่าที่พักคืนละ 700 บาท
ช่วงที่ผมไปเป็น LowSeason นะครับ รีสอร์ทที่นี่ส่วนใหญ่ไม่มีอาหารเช้าให้ครับ มีขนมปัง ชา กาแฟ ตอนเช้าๆ ที่นี่มีกล้วยน้ำว้า และมะม่วงให้ด้วย
ภายในห้องพักก็จะมีเตียงนอน ทีวี ตู้เย็น แอร์ เครื่องทำน้ำอุ่น มีสบู่ให้ มี wifi free แต่ห้องผมคงอยู่ไกลเลยไม่สามารถใช้สัญญานได้ ส่วนทีวีนี่ใช้ได้ครับ แต่ผมดันเผลอไปกดช่องแปลกๆ เลยไม่ได้ดูทั้งสองวัน
อ้อลืมบอกว่าผมมาพักที่นี่ 2 คืนสามวันครับ วันแรกนี้มาถึงแม่แจ่มก็บ่ายโมงกว่าเกือบบ่ายสองละครับ ได้นอนพักเอาแรงสัก 1 ชั่วโมง แล้วเจ้าของรีสอร์ทก็พาไปเช่ารถจักรยาน ใช่แล้วครับคุณอ่านไม่ผิด ผมเลือกพาหนะคู่ใจในการท่องเที่ยวแม่แจ่มด้วยจักรยาน และจักรยานที่เช่ามาก็ไม่ใช่จักรยานเสือหมอบ แบบมีเกียร์ขึ้นเขาได้ แต่เป้นจักรยานโบราณครับ ค่าเช่าวันละ 100 บาทครับ ร้านที่ให้เช่าคือ เฮือนลายแจ่มเมือง เจ้าของเป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่บ้านท้องฝาย คนที่นี่จะเรียกแม่หลวงยอด
ออกสตาร์ทการท่องเที่ยวกันที่หมู่บ้านท้องฝายนี่เลยครับ แต่ด้วยฝนเทลงมาจากฟ้านานเกือบชั่วโมง จึงได้มีโอกาสพูดคุยกับแม่หลวงยอด เฮือนลายแจ่มเมืองที่นี่เป็นทั้งโฮมเสตย์ และศูนย์เรียนรู้ด้านการทอผ้าซิ่นตีนจก ซึ่งผู้ที่สนใจอยากเรียนทอผ้าซิ่นตีนจกผมแนะนำที่นี่เลยครับ ผมได้พูดคุยกับนักเรียนที่มาเรียนทอผ้าที่นี่เธอมาอยู่ 2 สัปดาห์ละ ยังเรียนถึงแค่ทอลายง่ายๆ แสดงว่าศาสตร์ทางด้านการถักทอผ้าซิ่นนี่ย่อมไม่ธรรมดานะครับ ช่างที่สามารถทอลวดลายต่างๆ ได้นี่ต้องใช้ความอดทนสูงมาก และต้องมีสมาธิดีเยี่ยม ที่สำคัญสายตาต้องดีด้วยครับ
เมื่อสอบถามถึงลวดลายของผ้าซิ่นแล้ว ทำให้ทราบว่า ลายผ้าซิ่นตีนจก มี 2 ประเภท คือ ลายโบราณ 16 ลาย และลายประยุกต์ 16 ลายโบราณนี่ได้ขึ้นทะเบียนว่าเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์และได้รับการขึ้นทะเบียนเรียบร้อยแล้วว่าแสดงถึงภูมิปัญญาของคนท้องถิ่นแม่แจ่มที่คิดค้นลวดลายอันเป็นเอกลักษณ์นี้ขึ้นมา แน่นอนว่าลายโบราณย่อมใช้เวลาในการจกนานกว่าลายประยุกต์ ยากกว่า ที่สำคัญราคาต้องแพงกว่าครับ ราคาประมาณ 5500 ครับ ในส่วนของลายประยุกต์ก็มีความสวยงามอีกแบบ ทำงานกว่า ใช้เวลาน้อยกว่า ช่างที่เก่งสุดเร็วสุด 3 วันครับ เฉลี่ยจริงๆประมาณ 1-2 สัปดาห์ ราคาประมาณ 1700-2300 บาท ขึ้นอยู่กับลายอีกที เมื่อได้รับความรู้แล้วก็ออกตามหา 16 ลายโบราณใน 1 ผืนเลยครับ
ปั่นจักรยานท่องเที่ยวชมร้านค้าขายผ้าซิ่น Survey ไว้ก่อนครับ ขณะนั้นเป็นเวลา 17.00 น. แล้ว ตราบใดที่ฟ้ายังไม่มืด ต้องลุยให้ถึงที่สุด แวะถ่ายรูปที่ฝายชะลอน้ำซักหน่อย น้ำไหลเชี่ยวมากครับ
ปั่นต่อไปเจอ 7 Eleven ดีใจดั่งได้แก้วรอดตายแล้วตู ซื้อของกินมาตุนไว้เพราะพรุ่งนี้ต้องเดินทางไกล ปั่นต่อไปหาของกินดีกว่าชักหิวๆแล้ว แล้วก็ไปเจอร้านเสต็กสิงขร ร้านนี้ผมนี่แนะนำเลยครับ เมนูที่ผมสั่งคือ ผัดเผ็ดกบ และเอ็นไก่ทอด ตามด้วยน้ำส้มปั่นให้หายเหนือยซักหน่อย ผมกล้าการันตรีความอร่อยร้านนี้ แม่้จะราคาสูงไปหน่อยสำหรับคนท้องถิ่น แต่รสชาตินี่อร่อยจนน้ำตาไหล อร่อยกว่ารสมือแม่เสียอีก
เย็นย่ำก็ฮัมเพลงจากในเมืองแม่แจ่มกลับที่พักระยะทาง 2 กิโมตรเห็นจะได้ ผมรีบสปีดปั่นจักรยานเพราะกลัวจะมืดมองไม่เห็นทาง ทางไปรีสอร์ทไปได้หลายทางครับ แต่รอบแรกเราต้องลองที่ยากที่สุด คือการปั่นขึ้นเนิน เพราะบ้านวิวงามตั้งอยู่บนเนินเขา โลเคชั่นดีเยี่ยม แต่ปั่นไม่ไหวครับต้องจูงและเข็นจักรยานเอา เหนื่อยเหงื่อโทรมกาย
และแล้วก็ถึงที่พักจนได้แวะทักทายแม่อุ้ยคำป้อ คุณแม่ของเจ้าของรีสอร์ท และลูกสาวที่พูดเก่งมากชื่อน้องไยไหม น่ารักน่าชัง พี่จีนเจ้าของรีสอร์ทให้คู่มือเรื่องผ้าซิ่นตีนจกมาให้ศึกษาก่อนนอน นัดแนะเวลาว่าพรุ่งจะไปวัดกันกี่โมงกี่ยาม
เอ้กอีเอ้กเอ้ก....เช้าวันที่สอง ผมตื่นตั้งแต่ตีห้าเตรียมตัวไปวัดเวลา 6 โมงเช้า พี่จีนพาไปวัดป่าแดดโดยได้เตรียมขันดอกไม้และข้าวนึ่งสุกให้ผมหนึ่งชุด ซาบซึ้งน้ำใจยิ่งนัก
เมื่อไปถึงวัดฝนก็ตกไม่ขาดสายแต่ศรัทธาของชาวบ้านที่นี่แรงกล้ามากครับ ไม่หนีไปไหน ศูนย์รวมจิตใจของทุกคนอยู่ที่วัดนี้ และสิ่งที่ผมตั้งตารอคอยก็มาถึงคือ แฟชั่นผ้าซิ่นตีนจก ชาวบ้านที่นี่ไม่ว่าจะเด็กเล็ก เด็กโต วัยรุ่น คนเฒ่าคนแก่ล้วนขนผ้าซิ่นตีนจกออกมาใส่ประชัน ละลานตามากเหลือเกิน ตาลุกวาวเมื่อเห็นลายโบราณ อยากจะมีเก็บสะสมใน collection ผ้าไทยที่ผมสะสมอยู่
วัฒนธรรมและประเพณี ธรรมเนียมที่วัดคล้ายๆกับที่บ้านผมที่จังหวัดลำพูน แตกต่างกันตรงลายละเอียดเล็กๆน้อยๆ เช่น คนที่นี่จะนำดอกไม้มาเยอะมาก และจะนำใส่มือไหว้พระตลอดเวลา จบบทสวด 1 บท ก็จะเอาดอกไม้ทิ้งและเปลี่ยนดอกใหม่ แต่ที่บ้านผมไม่ทำ และอีกอย่างหนึ่งคือที่บ้านผมชาวบ้านจะนำข้าวสาร หรือข้าวนึ่งสุกใส่ถุงพลาสติกเป็นถุงเล็กๆ แล้วใส่บาตรพระ โดยพระสงฆ์จะเดินออกจากวิหารมารอรับบิณฑบาต แต่ที่แม่แจ่มพระสงฆ์ไม่เดินบิณฑบาต แต่จะมีบาตรตั้งไว้ที่เต้นท์และชาวบ้านไปต่อแถวเข้าคิวใส่บาตรแทน ซึ่งข้าวที่ชาวบ้านเตรียมมาจะเป็นข้าวนึ่งสุกใส่ "สลุง" ขันเงินของคนภาคเหนือ แต่นำใบตองมาปิดเพื่อกันลม แปลกดีครับ
มาพูดถึงวัดป่าแดดกันบ้าง วันนี้มีสิ่งที่น่าสนใจหลักๆคือ จิตรกรรมฝาผนัง พุทธประวัติ โดยฝีมือช่างแต้มชาวไทยใหญ่
มาต่อกันที่วัดยางหลวง วัดนี้สร้างโดยชาวกะเหรี่ยง หรือ ยาง สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 24
สิ่งที่สำคัญของวัดนี้อยู่ที่ กู่ปราสาทหรือกิจกูฎ เชื่อกันว่าเป็นประตูไปสู่ประตูสวรรค์ สถาปัตยกรรมแบบพุกาม ผสมกับล้านนาสกุลช่างเชียงแสน งดงามตะลึงพรึงเพริด ผมหาอยู่นานว่าตรงไหนคือ กิจกูฎ ในวิหารก็ไม่มี เจอพี่ชายท่านหนึ่งแกเป็นใบ้ เป็นไกด์พาทัวร์วัดและพาไปดูกิจกูฎ อยู่ตั้งอยู่หลังพระประทานในอุโบสถ พ่ออุ้ย (คุณตา) ท่านหนึ่งบอกผมว่าเก่าแก่กว่า 500 ปีเชียวนา
จากนั้นพี่ใบ้ก็พาผมเที่ยวชมแปลงดอกไม้ ภาพหลังอุโบสถ แปลงปลูกฝ้ายท้องถิ่นพันธุ์พื้นเมือง
และลามไปถึงพาไปบ้านแม่อุ้ย (ยาย) ท่านหนึ่งผู้ที่ทอผ้าซิ่นตีนจก 16 ลายโบราณที่ใส่กรอบโชว์ในวัด
แม่อุ้ยน่ารักดี ดูแข็งแรงเชียว ข้างๆแม่อุ้ยมีเห็ดยักษ์ ไม่รู้มีใครอามาฝากแก ใหญ่มากครับ
ลูกสาวแม่อุ้ยทายาทสืบทอดการทอผ้าซิ่นบอกว่า ช่วงนี้ยังไม่ได้ทอ กำลังเตรียมฝ้ายอยู่ คุยกับพอหอมปากหอมคอ ก็ปั่นจักรยานต่อ
ระหว่างทางได้ยินเสียงกี่กระตุก ก๊อกแก็ก เลี้ยวรถเข้าไปบ้านหลังหนึ่ง เห็นแม่อุ้ยทอผ้าซิ่นเลยถามได้ความมาว่า ทอผ้าฝ้ายแล้วจะเอาไปย้อมสีเพื่อห่มพระธาตุ สาธุได้บุญแท้แม่อุ้ย สายเหลือบไปเห็นป้ายโปสเตอร์ "นางวิไล บุญเทียม" ได้รับรางวัลภูมิแผ่นดินปิ่นล้านนา สาขาศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน แถมยังมีดีกรีถึงประธานกลุ่ม ผู้ประกอบการทอผ้า โอ้ว...เพิ่งอ่านเจอในหนังสือที่พี่จีนให้ยืมอ่านเมื่อคืนเลย เป๊ะครับตัวจริงเสียงจริง เลยได้มีโอกาสนั่งพูดคุยกับแกอยู่นานสองนาน เพื่อขอความรู้เรื่องผ้าซิ่นตีนจก แกได้เอาผ้าหลากหลายแบบมาให้ดู แกได้สอนผมดูว่างานไหนเนียบไม่เนี๊ยบ ลายอะไรยังไง ผมได้ความรู้เยอะเลยครับ เลยขอนามบัตรแกไว้ เผื่อสนใจสั่งทอผ้า
มุ่งหน้าไปต่อที่วัดกองกานปั่นไปอีกหลาย
4 กิโลเมตร ระหว่างทางนี่เกิดอาการท้อแท้เพราะขึ้นเนินลงเนินตลอด เหนื่อยสุดๆ แต่คุ้มค่ากับการลงแรงปั่นดูจากวิวสองข้างทางได้จะมีทุ่งข้าวโพดไกลสุดลูกหูลูกตาเรา
บ้านเก่าๆ โบราณ ทุ่งนา
ก่อนกลับพี่จีนเจ้าของรีสอร์ทบอกว่าให้ปั่นจักรยานไปเลือกซื้อผ้าซิ่นที่บ้านท้องฝายก่อนเลย
แล้วเดี๋ยวจะขับรถไปส่งผมที่คิวรถแม่แจ่ม ซาบซึ้งน้ำใจสุดๆ
ผ้าซิ่นผืนนี้เพื่อนฝากซื้อบอกว่าจะเอาไปให้แม่สวยมั๊ยครับ
พี่สาวคนนี้อายุสี่สิบกว่าๆแล้วครับ ที่บ้านของเธอมีแม่อยู่กับน้องสาว ส่วนตัวพี่สาวคนนี้ทำงานในตัวเมืองเชียงใหม่เปิดร้านนวดแผนไทย เธอบอกว่าพยายามจะกลับมาบ้านเดือนละหลายๆครั้งเพื่อเยี่ยมแม่ คุณแม่ของเธออายุ 70 กว่าๆ แล้ว คนทางเหนือจะเรียกคุณยายว่า "แม่อุ้ย" เมื่อไปถึงแม่อุ้ยกำลังนั่งห่อขนมเทียน ทางเหนือจากเรียก "ขนมจ๊อก" เพื่อเตรียมไปวัดเนื่องจากพรุ่งนี้จะเป็นวันเข้าพรรษา และได้สั่งให้ลูกสาวไปเก็บข้าวโพดสาลีมาทั้งแปลง ส่วนหนึ่งจะนำไปวัด ส่วนหนึ่งแจกจ่าย ผมก็ได้ไปช่วยเค้าแกะฝักข้าวโพด เป็นประสบการณ์ที่น่าจดจำครับ เมื่อเสร็จกิจ พี่สาวคนนี้ก็พาผมไปไปส่งที่รีสอร์ท แวะข้างทางถ่ายรูปเพราะวิวสวยเหลือเกิน เป็นทุ่งข้าวโพดครับ ดูแล้วสดชื่นจริงๆ
ภายในห้องพักก็จะมีเตียงนอน ทีวี ตู้เย็น แอร์ เครื่องทำน้ำอุ่น มีสบู่ให้ มี wifi free แต่ห้องผมคงอยู่ไกลเลยไม่สามารถใช้สัญญานได้ ส่วนทีวีนี่ใช้ได้ครับ แต่ผมดันเผลอไปกดช่องแปลกๆ เลยไม่ได้ดูทั้งสองวัน
ออกสตาร์ทการท่องเที่ยวกันที่หมู่บ้านท้องฝายนี่เลยครับ แต่ด้วยฝนเทลงมาจากฟ้านานเกือบชั่วโมง จึงได้มีโอกาสพูดคุยกับแม่หลวงยอด เฮือนลายแจ่มเมืองที่นี่เป็นทั้งโฮมเสตย์ และศูนย์เรียนรู้ด้านการทอผ้าซิ่นตีนจก ซึ่งผู้ที่สนใจอยากเรียนทอผ้าซิ่นตีนจกผมแนะนำที่นี่เลยครับ ผมได้พูดคุยกับนักเรียนที่มาเรียนทอผ้าที่นี่เธอมาอยู่ 2 สัปดาห์ละ ยังเรียนถึงแค่ทอลายง่ายๆ แสดงว่าศาสตร์ทางด้านการถักทอผ้าซิ่นนี่ย่อมไม่ธรรมดานะครับ ช่างที่สามารถทอลวดลายต่างๆ ได้นี่ต้องใช้ความอดทนสูงมาก และต้องมีสมาธิดีเยี่ยม ที่สำคัญสายตาต้องดีด้วยครับ
เมื่อสอบถามถึงลวดลายของผ้าซิ่นแล้ว ทำให้ทราบว่า ลายผ้าซิ่นตีนจก มี 2 ประเภท คือ ลายโบราณ 16 ลาย และลายประยุกต์ 16 ลายโบราณนี่ได้ขึ้นทะเบียนว่าเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์และได้รับการขึ้นทะเบียนเรียบร้อยแล้วว่าแสดงถึงภูมิปัญญาของคนท้องถิ่นแม่แจ่มที่คิดค้นลวดลายอันเป็นเอกลักษณ์นี้ขึ้นมา แน่นอนว่าลายโบราณย่อมใช้เวลาในการจกนานกว่าลายประยุกต์ ยากกว่า ที่สำคัญราคาต้องแพงกว่าครับ ราคาประมาณ 5500 ครับ ในส่วนของลายประยุกต์ก็มีความสวยงามอีกแบบ ทำงานกว่า ใช้เวลาน้อยกว่า ช่างที่เก่งสุดเร็วสุด 3 วันครับ เฉลี่ยจริงๆประมาณ 1-2 สัปดาห์ ราคาประมาณ 1700-2300 บาท ขึ้นอยู่กับลายอีกที เมื่อได้รับความรู้แล้วก็ออกตามหา 16 ลายโบราณใน 1 ผืนเลยครับ
![]() |
16 ลายโบราณ |
ลายประยุกต์ |
ปั่นมาเรื่อยๆ แวะตลาดสดซักหน่อย เพราะผมได้ดูพยากรณ์อากาศมาแล้วว่าจะมีฝน 79% ตลอดสามวันที่ผมอยู่ที่นี่ พุ่งไปหาซื้อเสื้อกันฝน แวะเก็บภาพ
ปั่นต่อไปเจอ 7 Eleven ดีใจดั่งได้แก้วรอดตายแล้วตู ซื้อของกินมาตุนไว้เพราะพรุ่งนี้ต้องเดินทางไกล ปั่นต่อไปหาของกินดีกว่าชักหิวๆแล้ว แล้วก็ไปเจอร้านเสต็กสิงขร ร้านนี้ผมนี่แนะนำเลยครับ เมนูที่ผมสั่งคือ ผัดเผ็ดกบ และเอ็นไก่ทอด ตามด้วยน้ำส้มปั่นให้หายเหนือยซักหน่อย ผมกล้าการันตรีความอร่อยร้านนี้ แม่้จะราคาสูงไปหน่อยสำหรับคนท้องถิ่น แต่รสชาตินี่อร่อยจนน้ำตาไหล อร่อยกว่ารสมือแม่เสียอีก
เย็นย่ำก็ฮัมเพลงจากในเมืองแม่แจ่มกลับที่พักระยะทาง 2 กิโมตรเห็นจะได้ ผมรีบสปีดปั่นจักรยานเพราะกลัวจะมืดมองไม่เห็นทาง ทางไปรีสอร์ทไปได้หลายทางครับ แต่รอบแรกเราต้องลองที่ยากที่สุด คือการปั่นขึ้นเนิน เพราะบ้านวิวงามตั้งอยู่บนเนินเขา โลเคชั่นดีเยี่ยม แต่ปั่นไม่ไหวครับต้องจูงและเข็นจักรยานเอา เหนื่อยเหงื่อโทรมกาย
และแล้วก็ถึงที่พักจนได้แวะทักทายแม่อุ้ยคำป้อ คุณแม่ของเจ้าของรีสอร์ท และลูกสาวที่พูดเก่งมากชื่อน้องไยไหม น่ารักน่าชัง พี่จีนเจ้าของรีสอร์ทให้คู่มือเรื่องผ้าซิ่นตีนจกมาให้ศึกษาก่อนนอน นัดแนะเวลาว่าพรุ่งจะไปวัดกันกี่โมงกี่ยาม
เอ้กอีเอ้กเอ้ก....เช้าวันที่สอง ผมตื่นตั้งแต่ตีห้าเตรียมตัวไปวัดเวลา 6 โมงเช้า พี่จีนพาไปวัดป่าแดดโดยได้เตรียมขันดอกไม้และข้าวนึ่งสุกให้ผมหนึ่งชุด ซาบซึ้งน้ำใจยิ่งนัก
วัฒนธรรมและประเพณี ธรรมเนียมที่วัดคล้ายๆกับที่บ้านผมที่จังหวัดลำพูน แตกต่างกันตรงลายละเอียดเล็กๆน้อยๆ เช่น คนที่นี่จะนำดอกไม้มาเยอะมาก และจะนำใส่มือไหว้พระตลอดเวลา จบบทสวด 1 บท ก็จะเอาดอกไม้ทิ้งและเปลี่ยนดอกใหม่ แต่ที่บ้านผมไม่ทำ และอีกอย่างหนึ่งคือที่บ้านผมชาวบ้านจะนำข้าวสาร หรือข้าวนึ่งสุกใส่ถุงพลาสติกเป็นถุงเล็กๆ แล้วใส่บาตรพระ โดยพระสงฆ์จะเดินออกจากวิหารมารอรับบิณฑบาต แต่ที่แม่แจ่มพระสงฆ์ไม่เดินบิณฑบาต แต่จะมีบาตรตั้งไว้ที่เต้นท์และชาวบ้านไปต่อแถวเข้าคิวใส่บาตรแทน ซึ่งข้าวที่ชาวบ้านเตรียมมาจะเป็นข้าวนึ่งสุกใส่ "สลุง" ขันเงินของคนภาคเหนือ แต่นำใบตองมาปิดเพื่อกันลม แปลกดีครับ
มาต่อกันที่วัดยางหลวง วัดนี้สร้างโดยชาวกะเหรี่ยง หรือ ยาง สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 24
สิ่งที่สำคัญของวัดนี้อยู่ที่ กู่ปราสาทหรือกิจกูฎ เชื่อกันว่าเป็นประตูไปสู่ประตูสวรรค์ สถาปัตยกรรมแบบพุกาม ผสมกับล้านนาสกุลช่างเชียงแสน งดงามตะลึงพรึงเพริด ผมหาอยู่นานว่าตรงไหนคือ กิจกูฎ ในวิหารก็ไม่มี เจอพี่ชายท่านหนึ่งแกเป็นใบ้ เป็นไกด์พาทัวร์วัดและพาไปดูกิจกูฎ อยู่ตั้งอยู่หลังพระประทานในอุโบสถ พ่ออุ้ย (คุณตา) ท่านหนึ่งบอกผมว่าเก่าแก่กว่า 500 ปีเชียวนา
จากนั้นพี่ใบ้ก็พาผมเที่ยวชมแปลงดอกไม้ ภาพหลังอุโบสถ แปลงปลูกฝ้ายท้องถิ่นพันธุ์พื้นเมือง
และลามไปถึงพาไปบ้านแม่อุ้ย (ยาย) ท่านหนึ่งผู้ที่ทอผ้าซิ่นตีนจก 16 ลายโบราณที่ใส่กรอบโชว์ในวัด
แม่อุ้ยน่ารักดี ดูแข็งแรงเชียว ข้างๆแม่อุ้ยมีเห็ดยักษ์ ไม่รู้มีใครอามาฝากแก ใหญ่มากครับ
ลูกสาวแม่อุ้ยทายาทสืบทอดการทอผ้าซิ่นบอกว่า ช่วงนี้ยังไม่ได้ทอ กำลังเตรียมฝ้ายอยู่ คุยกับพอหอมปากหอมคอ ก็ปั่นจักรยานต่อ
ปั่นต่อไปยังบ้านปิ่นปักผมแม่แจ่ม
ซึ่งเป็นบ้านของพ่ออุ้ยกอนแก้ว อินต๊ะก๋อน ช่างปิ่นปักผมโบราณของเมืองแม่แจ่ม
จากการได้พูดคุยกับลูกหลานของพ่ออุ้ย ทำให้ทราบความเป็นมาว่า พ่ออุ้ยแกเป็นช่างเป็นศิลปินชอบงานฝีมือ
แกเริ่มจากการทำทองทำแหวน และงานที่สร้างชื่อให้แกคือปิ่นปักผมลายโบราณอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว
พ่ออุ้ยท่านได้เสียชีวิตไปนานแล้ว ปัจจุบันเหลือแต่แม่อุ้ย (ภรรยา) โดยมีลูกๆหลานๆ
คอยดูแลไม่ให้หงอยเหงา สำหรับปิ่นปักปักโบราณนั้นวัสดุที่ใช้คือทองเหลือง
นำมารีดเป็นแผ่นแล้วค่อยๆ ตีหรือตอกให้เกิดลวดลาย เป็นงานแฮนด์เมดทั้งสิ้น
ปัจจุบันลูกหลานได้สืบทอดงานทำปิ่นต่อจากพ่ออุ้ย ผมว่าน่าชื่นชมมากครับที่ลูกหลานยังเล็งเห็นความสำคัญสืบสานงานฝีมือของวงศ์ตระกูล
อีกทั้งบ้านหลังนี้ยังกลายเป็นหนึ่งใน Land mark ที่นักท่องเที่ยวต้องมาเยือน สำหรับตัวผมชอบปิ่นเงินมากกว่าจึงได้ซื้อมา
2 ขนาด เบอร์ใหญ่สุดและขนาดกลางครับ
คุณนุ่ม หลานพ่ออุ้ยแนะนำให้ผมแวะเที่ยววัดบ้านทัพก่อนไปวัดพุทธเอ้น
ผมจึงไม่รอช้ามุ่งหน้าไปยังวัดบ้านทัพ ที่วัดแม่อุ้ยมาฟังเทศน์ฟังธรรมกันเต็มไปหมดเพราะวันนี้เป็นวันเข้าพรรษา
นอนกันเต็มศาลาวัด น่ารักดี เหมือนงานชุมนุมปาร์ตี้คนแก่ นั่งๆ นอนๆ เม้าท์มอยหลับบ้างก็มีครับ
และนี่คือวิวทิวทัศน์จากวัดบ้านทัพครับ
ไปกันต่อที่วัดพุทธเอ้น ปั่นจักรยานไปไกลถึง
5.2 กิโลเมตรว่าจะถึงต้องผ่าน 3 ป่าช้าเลยครับ แถมบรรยากาศก็ครึ้มฟ้าครึ้มฝนบางช่วงฝนตกตลอดทาง แต่เมื่อมาแล้วต้องกลั้นใจปั่นไปให้ถึง
วิวจากสองข้างทางงดงามมากครับ ยินดีปรีดาที่ผู้คนที่นี่ยังอนุรักษ์บ้านโบราณไว้
และแล้วก็มาถึงวัดพุทธเอ้น
ฝนตกหนักมากติดฝนอยู่นานกว่าครึ่งชั่วโมงเลย สำหรับประวัติวัดพุทธเอ้น
หรือวัดพุทธเอิ้น เดิมชื่อวัดศรีสุทธาวาสเอิ้นมงกุฎ สิ่งที่น่าสนใจในวัดนี้คือ
อุโบสถกลางสระน้ำ (อุทกสีมา)
สร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ ห้ามผู้หญิงเข้านะครับ
และอีกจุดคือบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ชื่อบ่อน้ำพุทธเอ้น
ชาวบ้านจะนำไปใช้ดื่มใช้กิน ชาวบ้านเชื่อกันว่าบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จโปรดเวไนยสัตว์ผ่านมา และหยุดพักที่ดอนสกานต์
ได้ทรงตรัสเรียกหาพระอานนท์ พระพุทธอุปัฏฐากให้หาน้ำมาเสวย เสร็จแล้วทรงบ้วนพระโอษฐ์ลง
ณ บริเวณที่บ่อน้ำในปัจจุบัน เชื่อหรือไม่ว่าน้ำที่ไหลออกจากพื้นดินในบ่อแห่งนี้ไม่เคยเคยเหือดแห้งครับแม้ว่าบ้านเมืองจะแห้งแล้งอย่างไรก็ตาม
ถ่ายรูปไม่ทันครับฝนตกหนักมาก
ในที่สุดก็มาถึงวัดกองกาน หรือภาษาคำเมืองเรียก
วัดก๋องกาน วัดนี้มีพระคู่บ้านคู่เมืองของคนแม่แจ่มคือพระเจ้าตนหลวง พระพุทธรูปสมัยเชียงแสน
ปางมารวิชัย ประดิษฐานเป็นพระประธานในอุโบสถ ชาวแม่แจ่มเชื่อกันว่าเป็นพระที่มีความศักดิ์สิทธิ์มากครับ
คนเต็มอุโบสถแม่อุ้ยพ่ออุ้ยมาฟังเทศฟังธรรมกัน
มีป้ายบอกสิ่งที่น่าสนใจละแวกวัดได้แก่
สะพานไม้ และนาขั้นบันไดตามไปดูกัน
นาขั้นบันได…ไม่มี ให้ตายเถอะโรบิ้นชาวบ้านยังไม่ทำนากันครับ หมู่บ้านอื่นเค้าทำกันไปถึงไหนแล้วแต่ที่นี่ยังเตรียมนาไม่เสร็จเลย
เสียใจเป็นที่สุด แต่ยังดีที่มีทุ่งข้าวโพดให้พอชื่นชมชื่นใจได้บ้าง ขณะนี้เป็นเวลา
5 โมงเย็นแล้ว ต้องรีบกลับแล้วเราติดเกียร์สปีดรีบปั่นด่วน
ขากลับจริงๆ ผมตั้งใจเปลี่ยนเส้นทางไปแวะวัดเจียงก่อน แต่ดันลืมดูแผนที่กลับเส้นทางเก่าแล้วย้อนขึ้นไปยังวัดเจียง
รวม 9.4 กิโลเมตร จริงๆ เส้นทางใหม่ระยะทางเพียง 5.5
กิโลเมตรเท่านั้น ขาแทบหลุดครับงานนี้
วัดเจียง มีสิ่งที่น่าสนใจได้แก่
พระพุทธรูปพระเจ้าแสนตอง เป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์
คู่บ้านคู่เมืองแม่แจ่มมาช้านาน เดิมประดิษฐานที่วัดร้างทุ่งเชียงใหม่
ชาวเมืองแม่แจ่มได้อันเชิญอาราธนาแห่ขอฝน ต่อมาพระธรรมโมลีเจ้าคณะภาค7 มีคำสั่งให้อาราธนาพระพุทธรูปแสนตองมาขึ้นทะเบียนและประดิษฐาน ณ
วัดเจียงแห่งนี้ ชาวบ้านเชื่อกันว่าศักดิ์สิทธิ์มากเคยแสดงปาฏิหาริย์ให้เห็นแก่ชาวเมืองแม่แจ่มหลายครั้ง
เช่นครั้งที่อาราธนามาประดิษฐาน ณ วัดเจียง ทำให้ฝนตกโดยฉับพลัน เป็นต้น
บริโภคเจดีย์ หรือพระเจดีย์วัดเจียง
รูปทรงแตกแต่งจากเจดีย์ทั่วๆ ไป ประดิษฐานอยู่หลังมณฑปพระเจ้าแสนตอง
มีลักษณะเป็นทรง 6 เหลี่ยม สูงประมาณ 18 เมตร ตามคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่สืบต่อๆ กันว่า เจดีย์องค์นี้เป็นที่บรรจุจีวรของพระพุทธเจ้า
โดยมหาพรหมได้เป็นผู้นำผ้าจีวรมาบรรจุไว้
ที่นี่ยังเป็นพิพิธภัณฑ์สมุนไพร
ตำรับตำราโบราณโดยชมรมหมอพื้นบ้าน 4 ชนเผ่า คือ
กะเหรี่ยง ม้ง ลั๊วะ และคนเมือง
เสียดายที่ผมไม่มีเวลาเข้าชมครับเพราะใกล้จะหกโมงเย็นแล้ว ต้องรีบกลับ
เจดีย์โบราณ
เหนื่อยมาทั้งวันแล้วครับต้องเติมพลังก่อนจะแย่ไปกว่านี้
แวะร้านเดิมสั่งข้าวกล่องง่ายๆ เมนูยอดฮิต ข้าวกะเพราไข่ดาว กลับไปกินที่รีสอร์ท
เพราะเริ่มมืดและฝนใกล้จะตกหนักแล้วครับ กลับไปถึงรีสอร์ทแทบไม่มีแรงจะก้าวขาเลยทีเดียว
หมดสภาพจริงๆ
มาถึงวันสุดท้ายของการเดินทางท่องเที่ยวในแม่แจ่ม
ผมตื่นเก็บของแต่เช้าและย้อนกลับไปวัดป่าแดดอีกครั้งเพื่อเก็บภาพจิตรกรรมฝาผนังตามรูปด้านบน
แล้วปั่นจักรยานไปยังบ้านแม่อุ้ยคำป้อหมู่บ้านป่าแดด บ้านแม่อุ้ยคำป้อทำเป็นโฮมเสตย์ครับ
นักท่องเที่ยวสามารถมาพักและเรียนรู้วิถีชีวิตของชาวบ้านได้ แม่อุ้ยคำป้อแกทอผ้าซิ่นตีนจกลายประยุกต์ครับ
แต่จริงๆ แกสามารถทอผ้าซิ่นลายโบราณได้ และเคยได้รับรางวัลที่ 3 มาแล้วด้วยครับ
ผมจำชื่อลายไม่ได้แกเอามาโชว์บอกว่ามีคนขอซื้อราคาหมื่นกว่า ฝีมืองานทอระเอียดยิบ ส่วนผมเลือกซื้อลายประยุกต์ไว้
1 ผืนเฉพาะตีนจก
เพื่อเอาไปฝากแม่บังเกิดเกล้าเนื่องในโอกาสวันแม่
ส่วนผ้าซิ่นค่อยไปหาซื้อที่บ้านท้องฝายก่อนกลับ เพราะผมอยากได้ตัวผ้าซิ่นออกโทนสีเขียว
และนี่เป็นตารางคิวรถแม่แจ่ม
ถ้าพลาดรอบเที่ยงต้องกลับรอบบ่ายสามโมงแน่ะ ขากลับขอคนขับนั่งหน้าอีกตามเคยโชคดีจริงเรา
สำหรับทริปแม่แจ่มสองคืนสามวัน ผมประทับใจในความมีน้ำใจ
ความจริงใจ และการต้อนรับที่อบอุ่น ไม่ว่าจะเป็นทางรีสอร์ท
รวมไปถึงชาวเมืองแม่แจ่ม ผมว่ามันเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาที่นี่นอกเหนือจากผ้าซิ่นตีนจก
ปิ่นปักผม และนาขั้นบันไดครับ ที่สำคัญคนแม่แจ่มยังสามารถรักษาขนบธรรมเนียม
ประเพณี วัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาชั่วลูกชั่วหลานไว้ได้
ไม่ได้ปล่อยให้กระแสวัฒนธรรมโลกตะวันตกเข้ามาทำลายวิถีชีวิตดั้งเดิมให้สูญหายไปตามกาลเวลา ถ้ามีโอกาสจะกลับไปอีกครั้ง..